หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล วังคัน ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
 

ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวังคัน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลวังคัน
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของตำบลวังคัน
เขื่อนกระเสียว
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ www.wangkan.go.th
องค์การบริหารส่วนตำบลวังคัน
อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
1
2
3
  อำนาจหน้าที่
 
 

อำนาจหน้าที่ของ อบต.
 
อำนาจหน้าที่ของ อบต.  
 

อำนาจหน้าที่ของ อบต.

          แยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ อำนาจหน้าที่ตามกฏหมายจัดตั้ง อบต. และอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเลือกตั้ง อบต.
          อบต. มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม: กิจการสาธารณที่ อบต. มีอำนาจหน้าที่จัดทำสามารถจำแนกได้ 2 ประเภทคือ

             1) กิจการที่ อบต. มีหน้าที่ต้องทำในเขต อบต.ดังนี้
                  (1)  จัดให้มีการบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
                  (2)  รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
                  (3)  ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
                  (4)  ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
                  (5)  ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
                  (6)  ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
                  (7)  คุ้มครองดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                  (8)  บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
                  (9)  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย โดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสำคัญ

             2) กิจการที่ อบต. อาจจัดทำในเขต อบต. ดังนี้
                  (1)  ให้มีน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร
                  (2)  ให้มีการบำรุงรักษาการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
                  (3)  ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
                  (4)  ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ
                  (5)  ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
                  (6)  ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
                  (7)  บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
                  (8)  การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
                  (9)  หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
                 (10)  ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
                 (11)  กิจการเกี่ยวกับการพานิชย์
                 (12) การท่องเที่ยว
                 (13) การผังเมือง

          อำนาจหน้าที่ อบต. ดังกล่าวข้างต้น ไม่ตัดอำนาจของกระทรวง ทบวง กรม องค์การหรือหน่วยงานของรัฐในการเข้าไปดำเนินการใดๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในตำบล แต่จะต้องแจ้งให้ อบต. ทราบล่วงหน้า และนำความเห็นของ อบต. เกี่ยวกับกิจการดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาดำเนินงานด้วย อำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          นอกจากอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ สภาตำบล และอบต. พ.ศ. 2537 แล้ว อบต. ยังมีอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตน ตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้

                 (1)  การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
                 (2)  การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
                 (3)  การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
                 (4)  การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
                 (5)  การสาธารณูปการ
                 (6)  การส่งเสริม การฝึกและประกอบอาชีพ
                 (7)  การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
                 (8)  การส่งเสริมการท่องเที่ยว
                 (9)  การจัดการศึกษา
                 (10)  การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
                 (11)  การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
                (12)  การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
                (13)  การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
                (14)  การส่งเสริมการกีฬา
                (15)  การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
                (16)  การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
                (17)  การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
                (18)  การจำกัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
                (19)  การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
                (20)  การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนกิจสถาน
                (21)  การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
                (22)  การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
                (23)  การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
                (24)  การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ แลสิ่งแวดล้อม
                (25)  การผังเมือง
                (26)  การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร
                (27)  การดูแลรักษาที่สาธารณะ
                (28)  การควบคุมอาคาร
                (29)  การป้องกันละบรรเทาสาธารณภัย
                (30)  การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและการสนับสนุน การป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                (31)  กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น

การออกข้อบัญญัติท้องถิ่น อบต.

          เพื่อใช้บังคับในเขต อบต. ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของ อบต. หรือเมื่อมีกฎหมายกำหนดให้ อบต. ออกข้อบัญญัติในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าผืนด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนดโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
          ร่างข้อบัญญัติ อบต. จะเสนอได้โดยนายก อบต. หรือ สมาชิกสภา อบต. หรือราษฎรในเขต อบต. ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น

การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของ อบต.
          ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาอบต. การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด


ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น
  การเมืองการบริหาร
             สภา อบต.  เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของ อบต. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ พิจารณาให้ความเห็นชอบกิจการสำคัญของ อบต. โดยใช้มติของที่ประชุมสภา อบต. เป็นหลัก มีประธานสภา อบต.เป็นหัวหน้าอำนาจหน้าที่ของสภา อบต. มีดังนี้
                1 ให้ความเห็นชอบแผนัฒนา อบต. เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการของ อบต.
                2 พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีและร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมของ อบต.
                3 ควบคุมการปฏิบัติงานของนายก อบต. ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนา อบต. ข้อบัญญัติ ระเบียบ       และข้อบังคับของทางราชการ  

            นายก อบต. คือหัวหน้าผู้บริหาร อบต. เป็นองค์ประกอบส่วนหนี่งของ อบต. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร เป็นผู้ควบคุมและรับผิดชอบการบริหารราชการของ อบต. ตามกฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง อบต.อำนาจหน้าที่ของนายก อบต.
(1) ก่อนเข้ารับหน้าที่นายก อบต. ต้องแถลงนโยบายต่อสภา อบต. โดยไม่มีการลงมติ หากไม่สามารถ ดำเนินการได้ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งต่อสมาชิกสภา อบต. ทุกคน และจัดทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตานโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภา อบต. เป็นประจำทุกปี
(2) มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 59 แห่ง พ.ร.บ. สภาตำบล และอบต. พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 ดังนี้(2.1) กำหนดนยาบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบต. ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนา อบต.ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
                                (2.2) สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของ อบต.
                                (2.3) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายก อบต. และเลขานุการนายก อบต.
                                (2.4) วางระเบียบเพื่อให้งานของ อบต. เป้นไปด้วยความเรียบร้อย
                                (2.5) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของ อบต.
                                (2.6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และกฎหมายอื่น
(3) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบต. ตามกฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างของ อบต.
(4) นายก อบต. รองนายก อบต. หรือผู้ซึ่งนายก อบต. มอบหมายมีสิทธิเข้าประชุมสภา อบต.และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงตลอดจนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนต่อที่ประชุม แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติ
(5) กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานและรองประธานสภา อบต. หรือสภา อบต. ถูกยุบเพราะไม่สามารถจัดให้มีการประชุมสภา อบต. ครั้งแรกได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. ครบตามจำนวนแล้ว หรือมีการประชุมแต่ไม่สามารถเลือกประธานสภา อบต. ได้ หากมีกรณีที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งผล่อยให้เนิ่นช้าจะกระทบประโยชน์สำคัญของราชการหรือราษฎรนายก อบต.จะดำเนินการไปพลางก่อนเท่าที่จำเป็นก็ได้ แต่เมื่อได้เลือกประธานสภา อบต. แล้วให้เรียกประชุมสภา อบต. เพื่อให้นายก อบต. แถลงนโยบายโดยไม่มีการลงมติภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการเลือกตั้งประธานสภา อบต.
(6) กรณีที่ นายก อบต. ผู้ใดปฏิบัติการในทางที่อาจเป็นการเสียหายแก่ อบต. หรือเสียหายแก่ราชการ และนายอำเภอได้ชี้แจงแนะนำตักเตือนแล้วไม่ปฏิบัติตาม ในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนที่จะรอช้าไม่ได้ ให้นายอำเภอมีอำนาจออกคำสั่งระงับการปฏิบัติราชการของนายก อบต. ไว้ตามที่เห็นสมควรได้แล้วรีบรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดทราบภายใน 15 วัน เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดวินิจฉัยตามที่เห็นสมควรโดยเร็ว : การกระทำของนายก อบต. ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณีดังกล่าว ไม่มีผลผูกพัน ไม่มีผลพผูกพัน อบต.
(7) เป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติ อบต. ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
(8) เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ
สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มีอำนาจเปรียบเทียบคดีละเมิดข้อบัญญัติ อบต. ได้ตามระเบียบและวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดการพ้นจากตำแหน่งของนายก อบต. : นายก อบต. พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
                (1) ถึงคราวออกตามวาระ
                (2) ตาย
                (3) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อนายอำเภอ
                (4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6.2
                (5) กระทำการฝ่าฝืนข้อห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
                                (5.1) ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจวันแต่ตำแหน่งที่ดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
                                (5.2) รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ เป็นพิเศษจากส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจนอกเหนือไปจากส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติกับบุคคลธุรกิจการงานตามปกติ
                                (5.3) เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่อบต. นั้นเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่ อบต. นั้นหรือที่ อบต. นั้นจะกระทำ
                (6) ผู้ส่าราชการจังหวัดสั่งให้พ้นจากตำแหน่งด้วยกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
                                (6.1) ไม่เสนอร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายที่สภา อบต. ไม่รับหลักการ และคณะกรรมการหรือประธานกรรมการที่นายอำเภอแต่งตั้งเพื่อพิจารณาหาข้อยุติความขัดแย้งได้พิจารณาแล้วต่อสภา อบต. ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างข้องบัญญัตินั้นจากนายอำเภอ
                                (6.2) กระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ และนายอำเภอสอบสวนแล้วปรากฏว่ามีพฤติการณ์เช่นนั้นจริง
                (7) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถุงที่สุดให้จำคุก
                (8) ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขต อบต. มีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียงเห็นว่านายก อบต. ผู้นั้นไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไปตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นนายก อบต. สิ้นสุดลงตามข้อ 6.4 (4) (5) ให้นายอำเภอสอบสวนและวินิจฉัยโดยเร็ว คำวินิจฉัยของนายอำเภอให้เป็นที่สุดในระหว่างที่ไม่มีนายก อบต. ให้ปลัด อบต. ปฏิบัติหน้าที่ของนายก อบต. เท่าที่จำเป็นได้เป็นการชั่วคราวจนถึงวันประกาศผลการเลือกตั้งนายก อบต.

           พนักงานส่วนตำบล    นอกจากองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ สภา อบต.และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแล้ว   ยังมีส่วนที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าองค์ประกอบทั้งสองเลย ก็คือพนักงานส่วนตำบล ซึ่งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ที่ปฏิบัติงานอันเป็นภารกิจประจำสำนักงานและนอกสำนักงาน    ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างใกล้ชิด ทั้งในเรื่องงานด้าน การสาธารณูปโภค การศึกษา การสาธารณสุข การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น โดยมีปลัดอบต.เป็นผู้ควบคุมดูแลรับผิดชอบ

 

ข่าว ณ. วันที่ 13 พ.ค. 2564 เวลา 12.24 น. โดย คุณ วิไลลักษณ์ ตั้งธงชัย

ผู้เข้าชม 222 ท่าน

 
 
 
เริ่มนับ วันที่ 7 ส.ค. 2556
องค์การบริหารส่วนตำบลวังคัน อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี 72180 โทรศัพท์ : 035-466-242
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2551 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลวังคัน
จำนวนผู้เข้าชม 11,454,636 เริ่มนับ 7 ส.ค. 2556 จัดทำโดย : NAXsolution.com
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10