หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล วังคัน ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
 

ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวังคัน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลวังคัน
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของตำบลวังคัน
เขื่อนกระเสียว
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ www.wangkan.go.th
องค์การบริหารส่วนตำบลวังคัน
อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
1
2
3
  กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
 
 


 
ความรู้เกี่ยวกับการประชาคม  
 

ประชาคมเกิดขึ้นอย่างไร
          ประชาคมเกิดเมื่อ สมาชิกชุมชนที่มีความเข้าใจ เรื่องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของพลเมือง ซึ่งเป็นสิทธิและหน้าที่ของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ทำให้เกิดความคิด ความตระหนัก ถึงเรื่องต่างๆ ที่เป็นปัญหาหรือจะเป็นความเดือนร้อนของชุมชนที่ใกล้ตัวหรืออนาคตหรือเป็นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ที่จะให้มีขึ้นในชุมชน เพื่อประโยชน์ของชุมชนโดยรวม สมาชิกของชุมชนก็จะรวมตัวกันเพื่อช่วยคิดช่วยทำรูปแบบของประชาชน

ทำไมต้องมีประชาคม
          ชุมชนเป็นของสมาชิกทุกคนในชุมชน เมื่อมีสถานการณ์หรือปัญหาใดก็ย่อมเป็นทั้งสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ โดยชอบของสมาชิกหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชนทุกคนมาร่วมกันคิด ร่วมกันทำ โดยมีประชาคมเป็นที่ให้โอกาสแก่สมาชิกของชุมชน มีหน้าที่ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ตัดสินใจและลงมือทำในเรื่องต่างๆ ที่ตรงกับความต้องการของชุมชน ด้วยความเชื่อมั่นว่าสมาชิกทุกคนสามารถคิดได้ ทำเป็น ถ้าเปิดโอกาสให้สมาชิกได้แสดงความสามารถ

ประชาคมคืออะไร
          ประชาคม เป็นการรวมตัวของสมาชิกในชุมชน เพื่อร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนด้วยตนเอง เช่น การแก้ไขปัญหาชุมชน  การวางแผนพัฒนาชุมชน  การกำหนดข้อตกลงร่วมกันโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีวัตถุประสงค์หรือสนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นการรวมตัวกันตามสถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น โดยไม่มีใครสั่ง สมาชิกที่มารวมกันมีส่วนร่วมคิดร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการและร่วมรับผิดชอบอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันภายใต้ขอบเขตของกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคม ทำให้สมาชิกเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน มีความรัก ความเอื้ออาทร ผูกพันต่อกันด้วยความรู้สึกสำนึกในความเป็นเจ้าของชุมชน

ประชาคมมีกฎหมายรองรับหรือไม่
          ประชาคมไม่มีกฎหมายเฉพาะรองรับ แต่ประชาคมเป็นการรวมตัวของสมาชิกในชุมชนเพื่อร่วมกันคิด ร่วมกันทำ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้แก่ชุมชน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อย่างไรก็ดี ประชาคมต้องมีกติกาของการอยู่ร่วมกันหรือวินัยของชุมชนที่ต้องไม่ดำเนินการใดๆในสิ่งที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่แสดงความก้าวร้าวหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลให้เกิดความเดือนร้อนรำคาญแก่ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

มีงบประมาณในการทำงานของประชาคมหรือไม่
          ประชาคมไม่มีงบประมาณเฉพาะที่จะใช้เป็นค่าตอบแทน หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆให้แก่สมาชิกของชุมชนที่มาร่วมกันคิด ร่วมทำในเวทีประชาคม แต่ข้อเสนอที่ได้จากการคิดร่วมกันของประชาคม มี 3 ลักษณะ  คือ
หนึ่ง เป็นข้อเสนอที่ประชาคมสามารถทำได้เองโดยไม่ต้องใช้เงิน หรือ
สอง เป็นข้อเสนอที่ประชาคมทำได้แต่ต้องขอความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น หรือ
สาม เป็นข้อเสนอที่ประชาคมไม่สามารถทำเองได้ต้องให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้
ข้อเสนอข้อสองและข้อสามนี้อาจได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ ภาคเอกชนองค์กรการต่างประเทศ โดยขึ้นอยู่กับข้อเสนอของประชาคมว่ามีความสอดคล้องกับเงื่อนไขของหน่วยงานที่จะให้การสนับสนุนได้หรือไม่เพียงใด

คนนอกชุมชนจะมาประชาคมได้หรือไม่
          ได้ เพราะประชาคมเป็นเวทีที่ต้องการความคิดเห็นและประสบการณ์ที่มีความหลากหลายจากคนที่เกี่ยวข้องซึ่งจะทำให้ได้แง่คิดและมีการตัดสินใจรอบคอบมากยิ่งขึ้น

ประชาคมมีขนาดใหญ่เล็กเพียงใด
          ประชาคมไม่จำกัดขนาดในการรวมตัวของสมาชิกจะมามากหรือมาน้อยก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการและความสนใจของสมาชิกที่มีต่อเรื่องที่เวทีประชาคมหยิบยกมาเป็นหัวข้อในการปรึกษาหารือ พูดคุย หาข้อมูลต่างๆ มาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้มีการตัดสินใจและลงมือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน

ประชาชนได้อะไรจากประชาคม
          ชุมชนที่มีการประชาคมจะทำให้สมาชิกของชุมชนได้เรียนรู้ ได้แสดงออกโดยการได้คิดได้ทำ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตัดสินใจด้วยเหตุผลและข้อตกลงของสมาชิกจากประชาคมสามารถนำไปปฏิบัติและเกิดผลดีต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชนฉะนั้น เมื่อมีปัญหาหรือสถานการณ์ใด ในชุมชนก็ให้การประชาคมเป็นเวทีในการร่วมกันคิดร่วมกันตัดสินใจ ร่วมกันดำเนินการและร่วมกันรับผิดชอบ

ประชาคมคิดและทำเรื่องอะไรได้บ้าง
          ประชาคมคิดและทำได้ทุกเรื่องที่สมาชิกของชุมชนสนใจ  เช่น เรื่องเศรษฐกิจของชุมชน  เรื่องการว่างงาน ปัญหายาเสพติด เรื่องการปลูกพืชปลอดสารพิษ เรื่องสิทธิ หน้าที่ ความเสมอภาค เรื่องการดูแลและรักษาและแบ่งปันผลประโยชน์ในทรัพยากรของชุมชน ฯลฯ

ประชาคมต้องให้ราชการจัดให้หรือไม่
          ประชาคมไม่ต้องรอให้ราชการสั่งการ เพราะประชาคมเป็นกิจกรรมทางสังคมที่สมาชิกของชุมชนมารวมตัวกันด้วยจิตสำนึกที่ต้องการแก้ไขปัญหาของชุมชนความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อความเจริญก้าวหน้าของชุมชนหรือท้องถิ่น ซึ่งตนเป็นเจ้าของให้เป็นชุมชนน่าอยู่อาศัยหรือชุมชนที่มีคุณภาพ

ขั้นตอนการประชาคม
1. กำหนดหัวข้อที่จะประชาคมให้ชัดเจน
2. กำหนดระยะเวลาและสถานที่จะประชาคม
3. ประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนทราบและเชิญเข้าร่วมประชาคม
4. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อม
5. เจ้าหน้าที่เตรียมตัวพร้อมในการประชาคม
6. ดำเนินการประชาคมตามกำหนดการและสรุปผลการประชาคม

 

ข่าว ณ. วันที่ 25 มี.ค. 2565 เวลา 13.21 น. โดย คุณ วิไลลักษณ์ ตั้งธงชัย

ผู้เข้าชม 136 ท่าน

 
 
 
เริ่มนับ วันที่ 7 ส.ค. 2556
องค์การบริหารส่วนตำบลวังคัน อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี 72180 โทรศัพท์ : 035-466-242
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2551 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลวังคัน
จำนวนผู้เข้าชม 11,464,204 เริ่มนับ 7 ส.ค. 2556 จัดทำโดย : NAXsolution.com
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10